ประวัติ

เทศบาลนครสมุทรปราการ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่ในเขตตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตและฐานะ ดังนี้
- พ.ศ.2460 จัดตั้งขึ้นเป็น สุขาภิบาลเมืองสมุทรปราการ
- พ.ศ.2478 ยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2478 มีพื้นที่ 1.48 ตารางกิโลเมตร
- พ.ศ.2505 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ออกจากเดิม รวมพื้นที่ขนาด 7.332 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งหมด) ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 79 ตอนที่ 98 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2505
- พ.ศ.2542 ยกฐานะเป็น เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 166 ตอนที่ 19 ก. ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542

 ตราประจำเทศบาล

ตราเครื่องหมายประจำเทศบาลนครสมุทรปราการ คือ “องค์พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ” ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญและเป็นที่เคารพสักการะของชาวสมุทรปราการ 

 วิสัยทัศน์เทศบาลนครสมุทรปราการ 

 "นครสมุทรปราการก้าวหน้า อนุรักษ์เมืองสะอาด พัฒนาเศรษฐกิจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี"

  ลักษณะที่ตั้ง

เทศบาลนครสมุทรปราการ ตั้งอยู่บนพื้นที่ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่รวม 7.332 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะพื้นที่ราบลุ่มไม่มีภูเขา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน และมีลำคลองหลายสายไหลผ่านลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เช่น คลองโพงพาง คลองมหาวงษ์ คลองปากน้ำ คลองบางนางเกรง เป็นต้น เทศบาลนครสมุทรปราการ ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 29 กิโลเมตร (ตามแผนภูมิระยะทางฯ ของกรมทางหลวง) พื้นที่ของเทศบาลนครสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ เช่น ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ, โรงพยาบาลประจำจังหวัด, โรงเรียนประจำจังหวัด, ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ, ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ, ศาลจังหวัดสมุทรปราการ, การไฟฟ้านครหลวงเขตสมุทรปราการ, สำนักงานประปาสาขาสมุทรปราการ เป็นต้น 

 อาณาเขต

หลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนสุขุมวิท ตรง กม.ที่ 22+139.30 เป็นระยะ 300 เมตร ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนสุขุมวิท
ด้านทิศเหนือ
จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านถนนสุขุมวิท ตรง กม.ที่ 22+139.30 ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวเส้นขนานระยะ 300 เมตร กับศูนย์กลางถนนสุขุมวิท
ด้านทิศตะวันออก
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นขนานระยะ 300 เมตร กับศูนย์กลางถนนสุขุมวิท ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองมหาวงษ์ฝั่งใต้
จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางปิ้ง ฝั่งตะวันออก ที่จุดซึ่งอยู่ห่างจากปากคลองชลประทาน ฝั่งตะวันออก เป็นระยะ 500 เมตร
จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบริมคลองบางปิ้ง ฝั่งตะวันออก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากคลองชลประทาน ฝั่งตะวันออก
จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบริมคลองชลประทาน ฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมคลองชลประทาน ฝั่งตะวันออก ตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนสุขุมวิท ตรง กม.ที่ 29+389.30
ด้านทิศใต้
จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองตาพร ฝั่งใต้ ที่จุดซึ่งถนนท้ายบ้าน ฟากตะวันออก บรรจบกับคลองตาพร ฝั่งใต้
จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นเลียบริมคลองตาพร ฝั่งใต้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดซึ่งคลองตาพร ฝั่งใต้ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก
ด้านทิศตะวันตก
จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นตั้งฉากกับแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก ลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นระยะ 100 เมตร เส้นขนานระยะ 100 เมตร กับแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก และเส้นตั้งฉากระยะ 100 เมตร กับหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก ที่จุดซึ่งอยู่ตรงแนวเส้นขนานระยะ 300 เมตร กับศูนย์กลางถนนสุขุมวิท
จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นขนานระยะ 300 เมตร กับศูนย์กลางถนนสุขุมวิท ไปทางทิศเหนือ จนบรรจบกับหลักเขตที่ 1

แผนที่แสดงอาณาเขตพื้นที่ของเทศบาลนครสมุทรปราการ

 

ทิศเหนือ จรด  เขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ           ทิศตะวันออก  จรด  เขตเทศบาลตำบลบางปู  
ทิศใต้  จรด  เขตเทศบาลตำบลบางปู                               เขตเทศบาลตำบลบางเมือง
ทิศตะวันตก  จรด  แม่น้ำเจ้าพระยา                               เขตเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ
   

 ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

สภาพภูมิประเทศ เทศบาลนครสมุทรปราการ มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มภูเขา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน และมีลำคลองหลายสายไหลผ่านลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เช่น คลองโพงพาง คลองมหาวงษ์ คลองปากน้ำ คลองบางนางเกรง เป็นต้น 
สภาพภูมิอากาศ พื้นที่เทศบาลนครสมุทรปราการมีลักษณะอากาศแบบชายทะเล อากาศเย็น ไม่ร้อนจัด ในฤดูร้อนมีความชื้นในอากาศสูงเนื่องจากอิทธิพลของลมทะเลและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนมีฝนตกมาก ฤดูหนาวไม่หนาวจนเกินไป อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 31 องศาเซลเซียส ต่ำสุดไมน้อยกว่า 26 องศาเซลเซียส

 การคมนาคมและการจราจร

เทศบาลนครสมุทรปราการ มีถนนสายหลัก สายรอง และถนนตรอก/ซอย และคลองในพื้นที่ ดังนี้
1. ถนนสายหลัก (คสล.) รวม 4 สาย (ถนนสุขุมวิท, ถนนท้ายบ้าน, ถนนสายลวด และ ถนนศรีนครินทร์)
2. ถนนสายรอง (คสล.) รวม 21 สาย
3. ถนนตรอก/ซอย (คสล.) รวม 31 สาย รวมความยาวถนน 41,265 เมตร (41.265 กิโลเมตร)
4. สะพาน ประกอบด้วย สะพานลอย สะพานข้ามทางแยก และสะพานข้ามคลอง รวม 21 แห่ง
5. คลอง ลำธาร ห้วย รวม 25 แห่ง

 สาธารณูปโภคและการสื่อสาร

การไฟฟ้า เทศบาลนครสมุทรปราการ อยู่ในพื้นที่ให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้
การประปา เทศบาลนครสมุทรปราการ อยู่ในพื้นที่ของการประปานครหลวง ทุกครัวเรือนมีน้ำประปาใช้
การไปรษณีย์ จำนวน 2 แห่ง (ไปรษณีย์สมุทรปราการ, ไปรษณีย์ปากน้ำ)
การสื่อสาร ในเขตพื้นที่เทศบาลนครสมุทรปราการ ประกอบด้วย
1. ระบบโทรศัพท์ ประกอบด้วย ชุมสายโทรศัพท์  4 ชุมสาย, โทรศัพท์สาธารณะ 4 ชุมสาย และ โทรศัพท์ส่วนบุคคล 2,143 เลขหมาย
2. ที่ทำการไปรษณีย์ 2 แห่ง
3. ระบบเสียงไร้สายในชุมชน จำนวน 50 จุด
4. หอกระจายข่าวชุมชน จำนวน 30 แห่ง
5. ศูนย์วิทยุสื่อสาร "ปราการ" ของสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ และศูนย์วิทยุ "เจดีย์" ของเทศบาลนครสมุทรปราการ

 จำนวนครัวเรือนและประชากร

ปีงบประมาณ จำนวนครัวเรือน         จำนวนประชากร (ตามข้อมูลทะเบียนราษฎร)
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564)
20,693  ครัวเรือน 1) ชาย   23,860   คน 
2) หญิง  25,240   คน     รวมทั้งสิ้น  49,100  คน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565)
22,015  ครัวเรือน 1) ชาย    23,489  คน
2) หญิง   24,756  คน     รวมทั้งสิ้น  48,245  คน 
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2566)
22,010  ครัวเรือน 1) ชาย    22,688  คน
2) หญิง   24,143  คน     รวมทั้งสิ้น  46,831  คน 
     

 ลักษณะการใช้ที่ดิน

เขตเทศบาลนครสมุทรปราการ มีพื้นที่รวม 7.332 ตารางกิโลเมตร การใช้ที่ดินมีความหนาแน่นสูง ทั้งประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และพื้นที่สันทนาการ ดังนี้
1. พื้่นที่อุตสาหกรรม ประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่บนถนนสุขุมวิทเป็นส่วนใหญ่
2. พื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย กระจายตัวอยู่ตามแนวถนนสายหลักของเมือง คือ ถนนสุขุมวิท ถนนท้ายบ้าน และถนนสายลวด 
3. พื้นที่สันทนาการ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชน ได้แก่ สวนสุขภาพ ร.9 ถนนสุขุมวิท สนามเด็กเล่น ลานอเนกประสงค์ สวนหย่อมหัวเกาะ สวยหย่อมริมเขื่อน สวนสาธารณะป้อมปีกกา และบริเวณโดยรอบอุทยานการเรียนรู้หอชมเมือง

 เศรษฐกิจ

เทศบาลนครสมุทรปราการ มีลักษณะเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และเทศพาณิชย์ ดังนี้
1. สถานประกอบการค้าด้านอุตสาหกรรม ประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 9 แห่ง ประกอบกิจการด้านสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ยานยนต์ และอาหารแปรรูป
2. สถานที่ประกอบการพาณิชยกรรม ประกอบด้วย กิจการในเชิงพาณิชย์และกลุ่มอาชีพต่างๆ รวมกว่า 1,733 แห่ง ได้แก่ ธนาคาร, สถานีบริการน้ำมัน, ศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้า, ตลาดสด, ร้านค้าทั่วไป และสถานที่จำหน่ายอาหารตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข

3. สถานที่ท่องเที่ยว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ, พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ และ ตลาดเชิงท่องเที่ยว
4. สถานประกอบการด้านบริการ ประกอบด้วย โรงแรมและโรงภาพยนต์ รวม 3 แห่ง
5. สถานประกอบการเทศพาณิชย์ ได้แก่ สถานธนานุบาล 1 แห่ง, ท่าเทียบเรือ 1 แห่ง

 สังคมและชุมชน

ชุมชนในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ มีจำนวนทั้งหมด 31 ชุมชน ดังนี้

1. ชุมชนกองรักษาการณ์ 9. ชุมชนนาคทิมทอง 17. ชุมชนวัดชัยมงคล 25. ชุมชนสายลวดซอย 8 (หงษ์ลดารมภ์)
2. ชุมชนคลองตะเค็ดฝั่งตะวันตก 10. ชุมชนนาวีปากน้ำ 18. ชุมชนวัดในสองวิหาร 26. ชุมชนสุขุมวิทฝั่งตะวันตก (นารถสุนทร)
3. ชุมชนคลองตะเค็ดฝั่งตะวันออก 11. ชุมชนบางปิ้ง 19. ชุมชนศิริราษฎร์ศรัทธา 27. ชุมชนแสนสุข
4. ชุมชนโค้งจรเข้ 12. ชุมชนเพียรอุทิศ 20. ชุมชนศูนย์การค้าปากน้ำ 28. ชุมชนหมู่บ้านบุษบา 2
5. ชุมชนซอยโบราณ 13. ชุมชนเฟื่องฟ้า 21. ชุมชนสะพานสาม 29. ชุมชนหมู่บ้านร่มเย็น
6. ชุมชนตรอกถ่าน 14. ชุมชนร่วมสามัคคีท้ายบ้าน   22. ชุมชนสายลวดซอย 3 (เจริญกุล) 30. ชุมชนหัวน้ำวน
7. ชุมชนท้ายบ้านซอย 40 (นำผล 2) 15. ชุมชนโรงนมตรามะลิ 23. ชุมชนสายลวดซอย 4 (ภาณุรังษี)   31. ชุมชนอักษรลักษณ์ (สุเหร่า)
8. ชุมชนท้ายบ้านฝั่งตะวันตก (โรงหมู-โรงวัว)   16. ชุมชนวัดกลาง-บ้านใหม่ 24. ชุมชนสายลวดซอย 5 (เฉลิมชัย)  
       

 การศึกษา

เทศบาลนครสมุทรปราการ มีสถานศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 23 แห่ง ประกอบด้วย
1. โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 แห่ง
2. โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 12 แห่ง
3. สถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 1 แห่ง
4. สถานศึกษาในสังกัด เทศบาลนครสมทุรปราการ 6 แห่ง

 ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี

1. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 97) มีศาสนสถานของทุกศาสนา ประกอบด้วย วัด 5 แห่ง, มัสยิด 1 แห่ง, โบสถ์คริสต์ 1 แห่ง
2. วัฒนธรรม ประเพณี ที่สำคัญในท้องถิ่น ดังนี้
    2.1 ประเพณีวันขึ้นปีใหม่  เดือนมกราคมของทุกปี มีกิจกรรมการทำบุญตักบาตรร่วมกัน
    2.2 ประเพณีสงกรานต์  เดือนเมษายนของทุกปี มีกิจกรรมทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัว ขบวนแห่นางสงกรานต์
    2.3 ประเพณีวันลอยกระทง  วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี มีกิจกรรมทำบุญตักบาตร งานมหรสพ ประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ
    2.4 ประเพณีแห่เทียนและถวายเทียนจำนำพรรษา  วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 มีกิจกรรมทำบุญตักบาตร หล่อเทียนและจัดขบวนแห่เทียนพรรษาถวายวัดต่างๆ ในเขตพื้นที่