การรับมือป้องกันปัญหาฝุ่น PM 2.5
PM 2.5 เกิดจากอะไร
สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิด PM 2.5 ในบ้านเราก็คือ
- ไอเสียจากรถยนต์ สภาพเมืองใหญ่ที่มีการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนและการเผาไหม้น้ำมันดีเซล ล้วนส่งผลทำให้ PM 2.5 ในพื้นที่นั้น ๆ มีปริมาณมากขึ้น
- อากาศเป็นพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า โรงงานที่อยู่ใกล้แหล่งชุมชนที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลงฟอสซิลหรือเชื้อเพลิงถ่านหิน ล้วนส่งผลอย่างมากต่อการเพิ่มขึ้นของ PM 2.5 ในพื้นที่นั้น ๆ
- การเผา พบมากในพื้นที่ภาคเหนือ การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ การเผาพื้นที่การเกษตรเพื่อเตรียมการเพาะปลูก การเผาป่า การเผาขยะ ล้วนส่งผลต่อปริมาณ PM 2.5
- สภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศสงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ทำให้เกิดการสะสมมลพิษในชั้นบรรยากาศเป็นปริมาณมากรวมถึง PM 2.5 ด้วย และเมื่อลมร้อนเข้ามาจะช่วยพัดพาทำให้ลมเย็นลอยสูงขึ้น มลพิษต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ จางลง และเริ่มสะสมใหม่เมื่อลมสงบ เป็นอย่างนี้เป็นวงจรไปเรื่อย ๆ
วิธีการป้องกัน
- ใส่หน้ากากประเกทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในบริเวณที่คมลพิษอากาศสูง
- งดการออกกำลังกายกายนอกตัวอาคาร เช่น งดวิ่งในสวนสาธารณะชั่วคราว ให้เปลี่ยนมา ออกกำลังกายภายในตัวอาคารแทน
- หมั่นตรวจตราไม่เปิดหน้าต่างในช่วงภาวะ PM 2.5 สูง เพื่อป้องการฝุ่น PM2.5 จากภายนอกเข้ามาในตัวอาคาร
- ช่วยกันงดการเผาไหม้ที่ “ไม่” สมบูรณ์ เช่น งดจุดเทียนในตัวอาคาร และนอกตัวอาคารงดการเผาในที่โล่ง
- งดใช้รถดีเซลที่ปล่อยควันดำ
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก