วิธีป้องกันและรับมือโรคไข้เลือดออก

   วิธีป้องกันและรับมือโรคไข้เลือดออก
    "โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัดจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ มีไข้สูงลอย 2-7 วัน มีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง
     โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และมักระบาดในฤดูฝน เพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น ยุงลายอาศัยอยู่ในภายในบ้านและรอบ ๆ บ้าน ชอบดูดกินเลือดคนเวลากลางวัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ
     ลักษณะสำคัญของไข้เลือดออกคือ
1.ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน
2.เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
3.บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีเลือดกำเดาออกหรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
4.ในรายที่ช็อกจะสังเกตได้จากอาการไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย้น ชีพจรเบาเร็ว หมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้
    วิธีป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก
1.ป้องกันยุงลายกัด ยุงลายมักจะกัดคนในเวลากลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
2.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ในภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วยรองขาตู้กันมด แจกันดอกไม้ ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย

Share this Post